เหตุกา๊รณ์ รศ.112


ภาพรอยสักคำว่า รศ.112 ตราด บนพระอุระของ เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ที่แสดงถึงความเจ็บปวดพระราชหฤหัยที่พี่น้องชาวไทยต้องสูญเสียดินแดนให้กับฝรั่งเศษ
ที่เราพี่น้องตราดต้องจดจำไปจนวันตาย
แล้วทุกวันนี้พวกเรายังจะไปใช้กระเป๋าแบรนด์เนมของพวกมันอีกรึ... แล้วมันจะต่างอะไรกับการตกเป็นทาสหล่ะ...


ภาพพิธีมอบเมืองตราดและเกาะกงให้กับข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสประจำเขมร

    ภาพจากหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส (ปกหลัง) Le Petit Journal ฉบับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1905

เสียเมืองตราด

             ภายหลังความตกลง สยาม-ฝรั่งเศส ฉบับ ค.ศ. 1904 ฝรั่งเศสยอมถอนกำลังออกจากจันทบุรี แต่กลับไปยึดครองตราดและเกาะกงไว้แทน โดยอ้างว่าเพื่อเป็นหลักประกันว่าสยามจะปฏิบัติตามอนุสัญญาใหม่โดยเคร่งครัด ในภาพเป็นพิธีมอบตราดและเกาะกงอย่างเป็นทางการให้นายโมเรล ข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสประจำเขมร ส่วนตัวแทนของฝ่ายไทยคือพระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยสิริ) ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย อนึ่ง สยามได้ตราดกลับคืนมาจากสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับ ค.ศ. 1907 ในภาพจะเห็นว่าธงช้างถูกชักลงจากเสา นั่นหมายถึงสยามหมดอิสรภาพใน ณ บัดนั้น

เสียดินแดนเมืองจันทบุรีและฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง

            ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจมาทางตะวันออกของแหลมอินโดจีน จนได้ครอบครองญวนทั้งประเทศ และเขมรส่วนนอกทั้งหมด และได้ใช้กำลังบีบบังคับไทยเพื่อจะเข้ายึดครองดินแดนของประเทศไทย เกิดเหตุการณ์รบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา (เหตุ ร.ศ. 112) ไทยจำยอมต้องยกดินแดนเมืองจันทบุรีและฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส

เสียเมืองตราดและเกาะกูด ยาวไปถึงเกาะกง

            ต่อมาในปี ร.ศ. 122 (ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ) รัฐบาลไทยได้ทำสัญญากับรัฐบาลฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทยยอมยกเมืองตราดและเกาะทั้งหลายภายใต้แหลมลิงลงไปถึงเกาะกูด ตลอดจนถึงเมืองประจันตคีรีเขตต์ ( เกาะกง) ให้แก่เมืองฝรั่งเศส และฝ่ายฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกจากจังหวัดจันทบุรีโดยกองทหารฝรั่งเศสออกจาก จันทบุรีตามสัญญาในวันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗) ต่อจากนั้นรัฐบาลไทยได้มีการมอบจังหวัดตราดและเกาะกงให้แก่ฝรั่งเศสเข้า ปกครองตั้งแต่วันที่ ๒๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๓ ( พ.ศ. ๒๔๔๗) เป็นต้นมา

เมืองตราดกลับคืนเป็นของสยาม

            จนถึง วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ฝรั่งเศสจึงทำสัญญาคืนเมืองตราดให้ไทยดังเดิม ทั้งนี้ โดยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงดำเนินวิเทโศบายทางการฑูตทุกวิถีทางจนได้เมืองตราดกลับคืนมา และวันที่ ๖ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๖ ( พ.ศ. ๒๔๕๐) ฝรั่งเศสจึงทำพิธีมอบเมืองตราดอย่างเป็นทางการ ให้กับประเทศไทยตามเดิม นับว่าจังหวัดตราดต้องสูญเสียอิสรภาพตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเป็น เวลา ๒ ปี ๖ เดือน ๗ วัน การที่จัดจังหวัดตราดได้กลับคืนมาอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศไทยตามเดิม นั้น

เสียดินแดนพระตะบองเ สียมราฐ ศรีโสภณ เพื่อแลกกับเมืองตราด

               ตราดไม่ได้กลับคืนมาเปล่าไทยต้องเสียดินแดนพระตะบองเสียมราฐ และศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับจังหวัดตราด การที่เราต้องเสียดินแดนไปจำนวนมากเพื่อแลกเปลี่ยนกับคนไทย นั้น ถือว่าเป็นพระปรีชาสามารถและทรงมีความผูกพันธุ์กับชาวตราด โดยแท้จริง

 การมอบเมืองตราดให้ฝรั่งเศส

           การมอบจังหวัดตราดและเกาะกงให้แก่เจ้าหน้าพนักงานฝ่ายฝรั่งเศสนั้น พระยามหาอำมาตย์ได้ออกไปที่จังหวัดตราดโดยเรือรบหลวงมกุฎราชกุมาร ในวันเวลาที่มีการมอบหมายส่งดินแดนให้แก่เจ้าพนักงานฝ่ายฝรั่งเศสนั้นได้ กระทำกัน ณ ที่ศาลาว่าการจังหวัดตราด ในวันที่ ๒๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๓ ( พ.ศ. ๒๔๔๗) ต่อหน้าพระยาพิพิธพิสัยสุนทรการ ( สุข บริชญานนท์) ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตราด และพระจรูญภาระการ (โป๊ะ กูรมะโรหิต) ซึ่งในขณะนั้นเป็นหลวงรามฤทธิรงค์ ตำแหน่งยกระบัตรเมืองตราด พระยามหาอำมาตย์ได้ทำหนังสือสำคัญโดยลงชื่อมอบเรสิดังต์กำปอดผู้เป็นข้าหลวง ฝ่ายฝรั่งเศสเสร็จแล้วพระยามหาอำมาตย์ก็พร้อมด้วยข้าราชการประจำเมือง ตราดและเกาะกงบางคน มีพระยาพิพิธพิสัยสุนทรการ พระจรุญภาระการ และนายวาศผู้พิพากษาศาลจังหวัดประจันตคีรีเขตต์ที่ได้ย้ายครอบครัวจากเกาะกง มารอคอยอยู่ที่จังหวัดตราดเวลานั้นก็พากันออกจากจังหวัดตราดโดยเรือรบหลวง มกุฎราชกุมารกลับเข้าสู่กรุงเทพฯ


            วิธีการมอบหมายจังหวัดตราดให้แก่ฝรั่งเศสนั้น นอกจากที่พระยามหาอำมาตย์จะได้ลงชื่อในหนังสือในหนังสือสำคัญให้แก่ข้าหลวง ฝ่ายฝรั่งเศสโดยเฉพาะแล้ว การปรากฏตามที่พระจรูญภาระการเล่าว่าก่อนที่จะมีการมอบหมายหนังสือสำคัญให้ แก่กันแล้วนั้น เสาธงประจำหน้าศาลาว่าการจังหวัดตราดยังชักธงไทย ( คือธงช้างเผือกทรงเครื่อง ยื่นแท่น) อยู่เบื้องบน ส่วนธงฝรั่งเศส(สามสี)ของเขาผูกไว้เบื้องล่างในสายเดียวกัน ( คือสายคู่) เมื่อข้าหลวงฝ่ายไทยได้กล่าวมอบหมายเมืองและหนังสือสำคัญให้แก่ข้าหลวง ฝรั่งเศส และฝ่ายข้าหลวงฝรั่งเศสให้กล่าวคำรับมอบเมืองจากข้าหลวงไทยเสร็จแล้ว ทางฝ่ายเจ้าพนักงานฝรั่งเศสก็ให้ทหารญวน ซึ่งตั้งแถวเป็นกองเกียรติยศอยู่ที่หน้าเสาธงในเวลานั้น ทำการชักธงฝ่ายไทยลงจากปลายเสา และในขณะเดียวกันนั้นเอง เขาก็ชักธงสามสีของเขาสวนสลับขึ้นไปแทนธงช้างของชาติไทยเราทันที เวลานั้นกองทาหารฝ่ายเขา ๆ ก็ทำความเคารพแลเป่าเพลงแตร (ซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นเพลงไซเยส์) เมื่อข้าหลวงฝ่ายไทยเสร็จการมอบหมายเมืองให้แก่ข้าหลวงฝ่ายฝรั่งเศสต่อกัน แล้ว

คนเมืองตราดร้องไห้และเจ็บปวดในการเสียอธิปไตย

                ในตอนนี้ข้าหลวงฝ่ายไทยกับบรรดาข้าราชการผู้ที่ได้ไปรู้เห็นในการนี้ต่างก็ พากันกลับและให้คนของฝ่ายเราปลดเอาธงช้างมาเท่านั้น กล่าวกันว่าในวันนั้นพวกไทยเราถึงกับพากันน้ำตาตกและเต็มตื้นไปด้วยกันทุกคน ทั้งนี้ย่อมจะเป็นความจริงเหตุว่า จังหวัดตราดเป็นบ้านเมืองของไทย พลเมืองก็เป็นคนไทย ในประวัติศาสตร์ไม่เคยปรากฏว่าจังหวัดนี้ได้เคยเสียความเป็นอิสระตกไปอยู่ใน ความยึดถือของชาติหนึ่งชาติใดเลย ก็เมื่อจังหวัดตราดอันเป็นเมืองของไทยเราได้ปกครองมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ต้องมาเสียความเป็นไทยตกอยู่ในมืองของคนต่างชาติ ( กล่าวคือฝรั่งเศส) เช่นนี้แล้วก็ย่อมจะทำให้พวกเราคนไทยพากันมีความรู้สึกโทรมนัสเสียดายและ เสียใจอยู่บ้างเป็นธรรมดา